มังกรมีจริงหรือเพียงแค่ตำนาน
โลกเรานี้มีมังกรจริงๆหรือไม่ หรือที่จริงแล้วมันเป็นสัตว์โลกประเภทใดแน่ หนนี้เราจะลองมาวิเคราะห์กันดู ก่อนอื่นเรามาชำแหละกายวิภาค หรืออนาโตมี (ANATOMY) ของเจ้ามังกรว่าเป็นฉันใดกันก่อนปีก - น่าจะเป็นอวัยวะสำคัญที่สุด ปีกมังกรละม้ายไปทางปีกค้างคาว สามารถพยุงน้ำหนักลำตัว ได้มากกว่าปีกนกธรรมดาๆ
กระเพาะอาหาร - หลายคนอาจนึกฉงนว่า ไอ้อวัยวะส่วนนี้ มันสำคัญตรงไหนนักหนาก็ไอ้นี่แหละที่ทำให้มังกร มันลอยตัวในอากาศได้ กล่าวคือ ในกระเพาะนั้น ย่อมมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหาร ที่มันเขมือบเข้าไป และในกระบวนการย่อยนี้ ก็จะเกิดมีก๊าซไฮโดรเจนขึ้น ก๊าซนี้มีน้ำหนักเบากว่าอากาศถึง 14 เท่า จึงพยุงร่างให้ลอยขึ้นได้ นอกจากนี้ ไฮโดรเจนยังเป็นก๊าซไวไฟ เจ้ามังกรจึงใช้พ่นออกมาเผาผลาญอริของมันได้ โดยมันจะเก็บก๊าซนี้ไว้ในถุงลม ถึงยามจำเป็นจึงนำออกมาใช้
กระดูก - สัตว์ที่บินได้ทั้งหลาย ไม่ว่าค้างคาวหรือนก ล้วนมีโครงสร้างกระดูกเป็นโพรงกลวง ทำให้มีน้ำหนักเบา ช่วยให้ลอยตัวในอากาศได้ ดีขึ้น มังกรเองก็มีกระดูกลักษณะนี้เช่นกัน
ตัวจุดประกายไฟ - แม้จะผลิต ก๊าซไฮโดรเจนได้แล้ว แต่ก๊าซย่อมไม่ติดไฟขึ้นได้เอง ต้องอาศัยการเกิดประกายไฟ หรือสปาร์ก (Spark) ในเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า เจ้ามังกรได้หม่ำเอาหินชนวนเข้าไป พอหินย่อยแล้วก็จะกลายเป็น ผงทองคำขาว หรือแพลทินัม ซึ่งผงดังกล่าวนี้สามารถ ทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจน แล้วลุกเป็นไฟให้เจ้ามังกรพ่นออกมาได้
นอกจากกายวิภาคแล้ว เค้าก็ยังสันนิษฐานถึงพฤติกรรมดำรงชีวิตของมังกรไว้ด้วย อาทิ
การผสมพันธุ์ - จะเป็นแบบเดียวกับ ลูกหลานของมันประเภทหนึ่งคือ นกอินทรีหัวล้าน (bald eagle) ซึ่งเป็นวิธีการพิสดารไม่เหมือนใคร โดยนกอินทรีตัวผู้ตัวเมียจะใช้กรงเล็บ เกาะกุมกันไว้กลางอากาศแล้วผสมพันธุ์ ช่วงนั้นมันทั้งคู่จะปราศจาก การควบคุมสมดุล และควงสว่านลงมาจากนภากาศ มันจะเสพสมสำเร็จ ในวินาทีก่อนที่จะตกกระทบพื้นดิน แล้วพลันโผผินบินขึ้นสู่ท้องฟ้าผละจากกัน มังกรตัวผู้ตัวเมีย ก็ผสมพันธุ์เฉกเช่นเดียวกับนกอินทรี หากแต่ตอนผละจากกันนั้น มันจะพ่นอัคคีออกมาพวยพุ่งเป็นสองลำในอากาศ
การหลอกศัตรู - เจ้ามังกรตัวน้อยๆนั้น อาจตกเป็นเหยื่อแก่ไดโนเสาร์โหดอย่างที-เร็กซ์ (T-REX) ได้โดยง่าย ใต้ปีกของมันจึงมีรูปดวงตาเบ้อเร่อสีสดใส ยามมีภัยมาใกล้ตัวมังกรน้อยจะกางปีกแผ่ออก ดวงตา คู่ยักษ์จะทำให้ศัตรูประหวั่นพรั่นใจ และแตกตื่นกระเจิงไป
ก็คงรู้ถึงเอกลักษณ์ของความเป็นมังกร พอควรแล้ว ทีนี้มาดูกันว่าสัตว์ ดึกดำบรรพ์อันน่าจะเป็นที่มาที่ไป ของมังกรนั้น ...คืออะไร
ย้อนกลับไปในยุค ไตรแอสสิก (TRIASSIC) หรือราว 200 ล้านปีก่อน ซึ่งสัตว์จำพวกครึ่งบกครึ่งน้ำ ได้ถือกำเนิดบนโลกนี้แล้ว เจ้าพวกนี้บิน หรือพ่นไฟไม่ได้หรอกครับ ได้แต่วิ่งสี่ขาเพ่นพ่าน ต่อมาบางตัวได้เริ่มต้นวิ่งด้วยสองขาหลัง ดังนั้น สองขาหน้าของมันจึงไร้ประโยชน์แล้วเลยกลายเป็นปีก สามารถเหาะเหินขึ้นสู่ฟ้าได้ นี่ก็น่าจะเป็นบรรพบุรุษตัวหนึ่งของมังกรได้
ล่วงมาถึง 65 ล้านปีในอดีต สัตว์เลื้อยคลานสี่ขาบางตัวมีอวัยวะคู่ที่ 3 งอกขึ้นมาเป็นปีก เจ้าตัวนี้มีทีท่าน่าจะคล้ายมังกรที่เรารูจักมากที่สุด เพราะมันบินได้ และมีกระเพาะ ที่ย่อยสลายแล้วได้ก๊าซไฮโดรเจนอันเป็นต้นตอของไฟที่มันพ่นออกมา หากทว่าบางตัวเอาแต่จับปลาหาเต่ากินในน้ำ มันจึงแปรสภาพไปเป็นสัตว์น้ำโดยสมบูรณ์ ปีกกลายเป็นครีบ เจ้ามังกรที่ว่านี้ ก็อย่างเช่น สัตว์ประหลาดยักษ์ที่ร่ำลือกันในทะเลสาบล็อคเนสส์ (LOCH NESS) หรือเจ้าเนสสี นั่นเอง
อ่านเรื่องเนสซี : http://knowledge-108.blogspot.com/2014/04/blog-post_4128.html
อ้างอิง :http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=mythboard&No=5901
อ้างอิง :http://board.postjung.com/662858.html#